" รถใหม่ มาตรฐานสากล ได้รับรอง ISO 9001 & ISO 39001 "​

ประสบการณ์ดำเนินงานกว่า 20 ปี
Top 5 รถนำเที่ยวประเทศไทย
มีรถของบริษัทเอง กว่า 200 คัน
รถใหม่ มาตรฐานสากล
บริการด้วยใจ มี Service Mind
ได้รับรองมาตรฐาน Q Bus กรมการขนส่งทางบก
ได้รับรองมาตรฐาน Standard Bus for Tourism กรมการท่องเที่ยว

รถบัสไฟฟ้า (EV Bus) ทางเลือกที่ดีกว่าเพื่อสิ่งแวดล้อม

รถบัสไฟฟ้ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร?

เทรนด์ใหญ่ที่สำคัญในการทำธุรกิจหรือไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิตในปีหน้า ที่ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างเริ่มประกาศแนวทางและนโยบายสำคัญ ในเรื่องของการทำธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งสาธารณะต่างๆ ทำให้มีการรณรงค์และเริ่มมีการปรับเปลี่ยนมาใช้ รถบัสไฟฟ้าหรือ EV Bus กันมากขึ้น

ตามข้อมูลของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากการใช้พลังงาน 6 เดือนแรกของปี 2565 พบว่า เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ 131.8 ล้านตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากภาคขนส่ง ภาคอุตสาหกรรมและภาคเศรษฐกิจอื่นๆ โดยการปล่อยก๊าซ CO2 จากการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงหลักที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซ CO2 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซ CO2 สูงที่สุด คือ ร้อยละ 40 รองลงมา คือ ถ่านหิน/ลิกไนต์ ร้อยละ 31 และก๊าซธรรมชาติ ร้อยละ 29 (ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.))ฉะนั้น การเพิ่มขึ้นของตัวเลือกดี ๆ ในธุรกิจขนส่งก็คือ รถบัสไฟฟ้า

และจากข้อมูลของกรมการขนส่งทางบกในปี 2565 ที่ผ่านมา มีการเติบโตของตลาดบัส อีวี ในไทย มาจากการที่ภาครัฐอนุมัติให้เอกชนสามารถเดินรถในโดยสารเส้นทางในกรุงเทพฯ ได้ เช่น ไทยสไมล์บัส ที่ได้สิทธิวิ่ง 71 เส้นทาง และเริ่มปรับใช้รถบัสไฟฟ้าเพิ่มขึ้น โดยถึงช่วงไตรมาสแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นเป็น 1,250 คัน ทั้งนี้บริษัทยังระบุว่าเป้าหมายคือ จะเพิ่มจำนวน รถบัสไฟฟ้าหรือ EV Bus ให้ได้ 3,100 คันภายในสิ้นปี 2566 นี้ นอกจากนั้น ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับยอดจดทะเบียนรถยนต์พลังงานไฟฟ้าประจำปี 2566 กว่า 70,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึง 399.05% โดยประชาชนหันมาใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพื่อลดการปล่อยมลพิษและฝุ่นละออง PM 2.5 กันมากขึ้น นั่นเอง ที่มา : bangkokbiznews.com

รถบัสไฟฟ้าคืออะไร?

Electric Bus หรือ EV Bus คือรถขนส่งสาธารณะที่ใช้พลังงานจากแหล่งพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เพราะใช้แบตเตอรี่ที่สามารถชาร์จไฟฟ้าได้ มีเสียงเครื่องยนต์น้อยลง ทำให้การเดินทางเป็นที่สงบและนุ่มนวลขึ้น อีกทั้งยังไม่มีการปล่อยก๊าซที่เป็นพิษออกจากท่อไอเสียเหมือนรถยนต์ทั่วไป จึงลดการเกิดก๊าซเรือนกระจกทำให้เป็นทางเลือกที่ยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอนาคตได้มากขึ้น นอกจากนั้น ยังช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ให้บริการขนส่งต่าง ๆ ได้ เนื่องจากรถไฟฟ้ามักมีต้นทุนในการดำเนินการที่ต่ำกว่ารถที่ใช้เชื้อเพลิงทั่วไป

ประเทศใดบ้างที่ใช้รถบัสไฟฟ้า สำหรับเป็นรถโดยสารสาธารณะ?

อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วว่า ธุรกิจขนส่งสาธารณะนั้นเริ่มมีการปรับเปลี่ยนการใช้ยานพาหนะให้ใช้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าการใช้น้ำมันและเครื่องยนต์สันดาป ที่เป็นส่วนสำคัญที่ทำร้ายสิ่งแวดล้อมของโลกอย่างหนึ่ง และการเปลี่ยนรถโดยสารสาธารณะให้เป็น EV Bus มากขึ้นนั้น ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในหลายประเทศทั่วโลกเอง ก็ปรับเปลี่ยนมาใช้รถไฟฟ้าในการขนส่งโดยสารสาธารณะกันมากขึ้น โดยเฉพาะในประเทศที่มีความตระหนักในปัญหาของปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยการหันมาใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้น ดังนี้

  • สาธารณะรัฐประชาชนจีน : ประเทศจีนเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้ EV Bus อย่างแพร่หลาย เพราะรัฐบาลจีนได้สนับสนุนการพัฒนาและใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดปริมาณมลพิษและการใช้พลังงานที่สะอาด
  • สหรัฐอเมริกา : รถบัสไฟฟ้าได้รับความสนใจและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ในหลายเมืองของสหรัฐอเมริกา เนื่องจากความต้องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการย้ายไปใช้พลังงานที่สะอาดมากขึ้นในระบบขนส่งสาธารณะ โดยหลายท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐบาลได้เริ่มทดลองใช้ EV Bus ในโครงการทดลองและทดสอบประสิทธิภาพและความทนทานของรถบัสไฟฟ้าในการขนส่ง นอกจากนั้นยังได้รับการสนับสนุนทางนโยบายจากรัฐบาล และยังมีหลายบริษัทของสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิตรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าส่งออกไปหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย
  • ประเทศแคนนาดา : การใช้รถ EV Bus ในแคนาดาได้รับความสนใจและพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ เช่น ในกรุงโตรอนโต, วานคูเวอร์และมอนทรีออล เป็นต้น
  • ประเทศอินเดีย : เนื่องจากอินเดียมีปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศมากในหลายๆ พื้นที่ รัฐบาลอินเดียจึงได้ประกาศนโยบายที่สนับสนุนการใช้ รถบัสไฟฟ้าเพื่อให้บริการขนส่งสาธารณะ
  • หลายประเทศในทวีปยุโรป : ในหลายประเทศขอบยุโรปมีการนำ EV Bus เข้ามาในระบบขนส่งโดยสารสาธารณะ เช่น เยอรมนี, ฝรั่งเศส, สวิตเซอร์แลนด์, นอร์เวย์, สวีเดนและประเทศอังกฤษ ฯลฯ
  • ประเทศญี่ปุ่น : ญี่ปุ่นเป็นอีกประเทศที่ตระหนักและเห็นความสำคัญของการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการใช้พลังงานที่เป็นมลพิษอย่างการขับขี่รถยนต์ด้วยเครื่องยนต์สันดาป โดยทั้งภาครัฐและเอกชนมีบทบาทในการสนับสนุนการลดการใช้พลังงานจากน้ำมัน ซึ่งในหลายเมืองของญี่ปุ่น เช่น โตเกียว ออซาก้า และอื่นๆ โดยเฉพาะในเขตที่มีการรวมรวมของคนอยู่มาก ๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า สถานีโทรทัศน์และถนนสำคัญๆ มีการใช้ EV Bus กันอย่างแพร่หลาย มีการพัฒนาสถานที่จอดรถไฟฟ้า รวมถึงที่ชาร์จให้เพียงพอและสามารถใช้งานได้สะดวกมากขึ้น

ข้อดีของธุรกิจขนส่งที่เปลี่ยนจากรถตู้หรือรถบัสโดยสารปกติมาเป็นรถบัสไฟฟ้า

✔ สามารถช่วยลดต้นทุนทางธุรกิจได้มากขึ้น : แม้ว่าการเปลี่ยนรถโดยสารสำหรับการขนส่งทั้งหมดจะมีต้นทุนเริ่มแรกที่สูง แต่เนื่องจากรถยนต์ไฟฟ้ามักมีค่าบำรุงรักษารถน้อยกว่ารถที่ใช้เชื้อเพลิงสันดาป เช่น ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง, ไม่มีการบำรุงรักษาระบบท่อไอเสียหรือมีชิ้นส่วนภายในมากนัก จึงช่วยธุรกิจให้ลดต้นทุนในระยะยาวได้

✔ การขับขี่ รถบัสไฟฟ้ามักมีประสิทธิภาพพลังงานและประหยัดพลังงานได้สูงกว่ารถที่ใช้เชื้อเพลิงสันดาป

รถบัสไฟฟ้ามักมีระบบทำงานที่สะดวกและง่ายมากกว่า อีกทั้งเครื่องยนต์ยังมีเสียงการทำงานที่เบาจึงไม่ส่งเสียงรบกวน

✔ สามารถลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมได้

ข้อเสียของรถบัสไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?

Electric Bus หรือ EV Bus แม้จะมีข้อดีหลายประการ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีข้อเสียบางประการที่ควรพิจารณาด้วย เช่น :

  • รถบัสไฟฟ้า อาจมีระยะทางการเดินทางที่สั้น เมื่อเทียบกับรถบัสที่ใช้เชื้อเพลิงสันดาป : ซึ่งการพัฒนาในเรื่องของการเก็บแบตเตอรี่ในการใช้งาน อาจจะยังไม่เหมาะสำหรับการเดินทางระยะไกลๆ หากไม่ได้วางแผนเป็นอย่างดีเรื่องการเดินทางไปยังจุดชาร์จไฟฟ้าแต่ละที่จนถึงที่หมาย
  • ต้นทุนเริ่มต้นในการเปลี่ยนเป็นรถบัสไฟฟ้า ทำธุรกิจขนส่งสาธารณะ ยังมีราคาสูงมาก : นอกจากค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนรถบัสทั้งหมดเป็นระบบไฟฟ้าแล้ว ยังจะต้องลงทุนเรื่องที่ชาร์จให้เพียงพอกับจำนวนของรถที่ให้บริการ นอกจากนั้น ก็ยังมีต้องมีค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานขับรถใหม่และเรียนรู้วิธีการใช้งานและการซ่อมบำรุงต่างๆ เป็นต้น
  • รถบัสไฟฟ้าอาจใช้ระยะเวลาในการชาร์จแบตเตอรี่นาน : ซึ่งอาจมีผลต่อกำหนดการเดินทางและการให้บริการ ฉะนั้น การเริ่มต้นธุรกิจขนส่งสีเขียวในอนาคตอาจจะต้องมีการวางแผนเรื่องระยะเวลาการเดินทางที่บวกรวมกับระยะเวลาที่ต้องจอดรถเพื่อชาร์จแบตเตอรี่เข้าไปด้วย
  • ต้นทุนที่ผันแปรจากค่าไฟฟ้า : เพราะการใช้รถบัสไฟฟ้า ที่จำเป็นจะต้องชาร์จแบตเตอรี่รถด้วยไฟฟ้า ซึ่งแม้ว่าค่าใช้จ่ายของค่าไฟฟ้าต่อหน่วยจะถูกกว่าการใช้น้ำมัน แต่ค่า Ft หรือ Float time คือสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติหรือค่าไฟฟ้าผันแปร ซึ่งจะมีการปรับอัตราค่า Ft 3 ครั้งต่อปี หรือทุก 4 เดือน เพื่อให้เกิดการสะท้อนต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงจากที่คำนวณไว้ในค่าไฟฟ้าฐาน จะมากขึ้นหรือน้อยลงไปตามตัวแปรต่างๆ เช่น ค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายตามนโยบายรัฐ นั่นหมายความว่าต้นทุนค่าไฟฟ้าของธุรกิจคุณอาจสูงมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต

ทั้งหมดนี้คือความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสำหรับรถยนต์ของธุรกิจขนส่งสาธารณะ ที่นอกจากจะคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของลูกค้าที่ไว้ใจเช่าบริการไม่ว่าจะเป็น รถบัสไฟฟ้า หรือ EV Bus ในการขนส่ง, จัดนำเที่ยวหรืองานอบรมสัมนา แต่ยังใส่ใจในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ซึ่ง ธนัชวิชญ์ แทรเวล กรุ๊ป จำกัด เราเป็นบริษัทให้บริการเช่ารถโดยสารชั้นนำแห่งหนึ่งของประเทศไทย มีรถโค้ช,รถตู้หรือ รถบัสนำเที่ยวที่มี Complimentary มากมาย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกสบายกับผู้ที่ร่วมสัมมนา พร้อมส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยมและความมั่นใจในความปลอดภัยทุกการเดินทางของคุณ ด้วยพนักงานขับรถที่มีความชำนาญและประสบการณ์การขับรถกว่า 7 ปี คอยบริการให้คุณตลอดการเดินทาง

สนใจเช่ารถบัส ติดต่อเรา บริษัท ธนัชวิชญ์ แทรเวล กรุ๊ป จำกัด

โทร: 02-578-1199, 02-578-4973-77, 02-943-2900

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top